วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 03-30/06/2009

Array and Record
ตัวแปร Array โปรแกรมส่วนใหญ่ที่ใช้งานจะเป็นการจัดเก็บค่าเพียงค่าเดียว รู้ว่าการประกาศตัวแปรจะต้องมีชนิดของข้อมูลที่จะจัดเก็บ ชื่อของตัวแปร ขนาดหรือจำนวนช่องที่จะใช้เก็บข้อมูล แต่ละตัวจะประกอบไปด้วยค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด การจัดเก็บอะเรย์จะใช้เนื้อที่เท่ากันในการจัดเก็บสมาชิกไว้ในหน่วยความจำหลัก
ตัวแปรอะเรย์มี 2 ลักษณะ คือ
1. อะเรย์ 1 มิติ
2. อะเรย์ 2 มิติ

อะเรย์ 1 มิติ เช่น int num[5]; ก็คือจะกำหนดให้มีสมาชิก 5 ตัว ส่วนการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอะเรย์จะมีค่าเริ่มต้นที่ศูนย์ เช่น char[4];="BUSSAKRON"; หมายความว่า Character ตัวที่สี่คือ A เพราะว่าค่าเริ่มต้นของอะเรย์จะมีค่าเริ่มต้นที่ศูนย์
อะเรย์ 2 มิติ เช่น char a[2][3]; ก็คือจะจองเนื้อที่ในหน่วยความจำจำนวน 6 ที่สำหรับตัวแปร a
Structure เป็นโครงสร้างที่สมาชิกแต่ละตัวมีประเภทข้อมูลแตกต่างกันได้ การประกาศสมาชิกแต่ละตัวของ structure จะเป็นตัวแปรธรรมดาและชื่อของสมาชิกแต่ละตัวก็แตกต่างกัน ถ้ามีหลายตัวแปรจะคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า ส่วนเรื่องของ Pointer เป็นตัวแปรที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่(address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ ตัวอย่างการประกาศตัวแปร เช่น int *a , char *ptrเป็นเครื่องหมายที่ใช้ทำงานกับ Pointer มี 2 ตัว คือ & และ * เรียกว่า สตาร์ หรือ แอสเทอร์ริก

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 02-23/06/2009

#include
#include
void main()
{
struct clothes
{
char name[20];
char sirname[20];
int code_member;
char color[10];
char size[10];
char type[20];
float price;
float discount;
}sale;
strcpy(sale.name,"Bussakron");
strcpy(sale.sirname,"Kleangmesri");
sale.code_member=12345;
strcpy(sale.color,"blue");
strcpy(sale.size,"XXL");
strcpy(sale.type,"T-shirt");
sale.price=100;
sale.discount=20;
printf("Name:%s\n",sale.name);
printf("Sirname:%s\n",sale.sirname);
printf("Code_Member:%d\n",sale.code_member);
printf("Color:%s\n",sale.color);
printf("Size:%s\n",sale.size);
printf("Type:%s\n",sale.type);
printf("Price:%.2f\n",sale.price);
printf("Discount:%.2f\n",sale.discount);
}


Introduction
โครงสร้าง คือ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม ส่วนข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจจะเป็นตัวเลข หรือไม่เป็นก็ได้ ดังนั้นเมื่อเรานำคำทั้งสองคำนี้มารวมกันแล้วจะเกิดคำใหม่คือ โครงสร้างข้อมูล ซึ่งความหมายว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้าง
การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำหลักมี 2 วิธี คือ
1.การแทนที่ข้อมูลแบบสแตติก
2.การแทนที่ข้อมูลแบบไดนามิก

การแทนที่ข้อมูลแบบสแตติก เป็นการแทนที่ข้อมูลที่มีการจองเนื้อที่แบบคงที่แน่นอนแต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถปรับขนาดให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ข้อมูลที่มีการแทนที่หน่วยความจำหลักแบบสแตติก คือแถวลำดับ การแทนที่ข้อมูลแบบไดนามิก เป็นการแทนที่ข้อมูลที่ไม่ต้องจองเนื้อที่จะี่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการของผู้ใช้โครงสร้างข้อมูลที่มีการแทนที่หน่วยความหลักแบบไดนามิกคือ ตัวชี้ หรือ พอยเตอร์ Algorithmเป็นวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบสามารถเขียนได้หลายแบบ

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 01-16/06/2009

นางสาวบุษกร เกลี้ยงมีศรี

Miss.Bussakron Kleangmesri

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Email u50132792033@gmail.com